รู้จักกับเครดิตลิงค์โน้ต (CLN)
ระยะหลังนี้ท่านผู้อ่านทั้งหลายอาจจะคุ้นหูกับการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับตราสารประเภท
Credit Linked Note (CLN) อยู่บ่อยๆ
ในวันนี้ผู้เขียนเลยจะขอนำเสนอถึงเรื่องราวความรู้เบื้องต้นของตราสารประเภท Credit Linked Note ว่ามันมีลักษณะอย่างไรมีความเสี่ยงอะไรจากการลงทุนในตราสารประเภทนี้บ้างและเราได้รับประโยชน์จากการลงทุนในตราสารประเภทนี้อย่างไรเริ่มกันเลยนะครับ พูดถึงลักษณะของตราสารประเภท CLN จริงๆ แล้ว CLN
ก็คือตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝงทางการเงินประเภทหนึ่ง
ที่มีคุณลักษณะคล้ายหุ้นกู้ ในส่วนของกระแสเงินสดและความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ที่อาจเกิดขึ้นได้ ผู้ออกตราสาร CLN
โดยส่วนใหญ่จะเป็นสถาบันการเงินโดยสถาบันการเงินนั้นจะออกตราสารที่มีผลตอบแทนหรือความสามารถในการจ่ายคืนเงินต้นอ้างอิงกับตราสารหนี้ที่อ้างอิง (Reference asset)
หรือผู้ออกตราสารหนี้ที่อ้างอิง (Reference entity)
ที่ผู้ออกตราสารสัญญาจะชําระเงินต้น ผู้ถือตราสาร CLN
จะได้รับผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ยซึ่งจะมีส่วนของมูลค่าเพิ่ม (Premium)
รวมอยู่ด้วย
คราวนี้มาดูกันว่า การลงทุนใน CLN นั้น มีประโยชน์ที่เห็นชัดอย่างไรบ้างสำหรับนักลงทุน
- แน่นอนว่าการลงทุนใน CLN นั้น เพิ่มความหลากหลายแก่การลงทุน โดย CLN
เปิดโอกาสให้นักลงทุนเข้าถึงผู้ออกตราสารหนี้ที่อ้างอิงได้หลากหลายกว่า
โดยไม่จำเป็นต้องผูกติดเหมือนกับการถือหุ้นกู้ซึ่งออกโดยผู้ออกเพียงราย
นั้นๆ
- CLN มีความยืดหยุ่นสูงโดยนักลงทุนเลือกองค์ประกอบหลักๆ
ได้ตามความต้องการ เช่น ผู้ออกตราสารหนี้ที่อ้างอิง
หรือตราสารหนี้ที่อ้างอิง, Leverage, อัตราดอกเบี้ย, วันครบกำหนดอายุ, ราคา
ฯลฯ
- การลงทุนใน CLN
สร้างผลตอบแทนที่เหนือกว่าการถือหุ้นกู้ที่ออกโดยผู้ออกตราสารหนี้ที่อ้าง
อิงเดียวกัน ในระยะเวลาที่เท่ากัน จากส่วนต่างของตราสารหนี้ (Spread)
ในแง่ของความเสี่ยงในขณะที่ผู้ถือตราสาร CLN
จะมีความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้เหมือนกับผู้ถือหุ้นกู้แล้วตราสาร CLN
เองยังมีความเสี่ยงเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ผิดปกติที่อาจเกิดกับตราสารหนี้ที่อ้างอิงหรือผู้ออกตราสารหนี้ที่อ้างอิงพูดง่ายๆ ก็คือหากไม่เกิดเหตุการณ์ที่ผิดปกติในระหว่างช่วงระยะเวลาของการถือ CLN
ผู้ถือตราสาร CLN
ก็จะได้รับชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยเต็มจำนวนจากผู้ออกตราสาร CLN
สำหรับเหตุการณ์ผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นได้ คือ
การผิดนัดชําระหนี้ของผู้ออกตราสารหนี้ที่อ้างอิงไม่ว่าจะผิดนัดในส่วนของดอกเบี้ยหรือเงินต้นเมื่อถึงกำหนดชำระ
และการล้มละลายของผู้ออกตราสารหนี้ที่อ้างอิงและนอกไปจากความเสี่ยงที่อาจเกิดเหตุการณ์ที่ผิดปกติแล้วความเสี่ยงจากการลงทุนใน CLN
ยังรวมถึงเหตุการณ์ภายในประเทศของตราสารหนี้ที่อ้างอิงที่กระทบกับความสามารถของผู้ออกตราสาร CLN นั้นๆ
และความสามารถในการชําระหนี้ของทั้งผู้ออกตราสาร CLN
และผู้ออกตราสารหนี้ที่อ้างอิง (Combined credit risk) ด้วย
แต่เราก็สามารถที่จะควบคุมความเสี่ยงต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นได้ เช่น
การเลือกลงทุนในตราสารที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (Credit
Rating)
จากสถาบันการจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับการยอมรับจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)
หรือการกำหนดอัตราส่วนการลงทุนตามที่สำนักงาน ก.ล.ต.ประกาศกำหนดเป็นต้น
แต่อย่างไรก็ตามในเรื่องความเสี่ยงของการลงทุนทางสำนักงานก.ล.ต.ได้มีระเบียบและข้อปฏิบัติให้แต่ละบริษัทจัดการปฏิบัติตาม
ซึ่งก็นับเป็นช่องทางหนึ่งในการควบคุมความเสี่ยงในการลงทุนใน CLN
ให้กับนักลงทุนโดยองค์กรและหน่วยงานของรัฐ
เช่นเดียวกับการลงทุนโดยทั่วไปผลตอบแทนจากการลงทุนต้องควบคู่ไปกับความเสี่ยงเสมอ ดังนั้น การลงทุนใน CLN
ก็ถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการลงทุนในการช่วยกระจายความเสี่ยง
หากเราเลือกลงทุนในช่วงเวลาที่เหมาะสม จะเห็นว่าในช่วงนี้ผลตอบแทนของ Euro
Commercial Paper (ECP) นั้น
ได้ปรับลดลงตามอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาค่อนข้างมากประมาณ
1.25% ดังนั้นการลงทุนใน CLN ในช่วงเวลานี้ ถือว่าเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมโดยในอนาคตอันใกล้นี้การลงทุนใน CLN น่าจะเข้ามามีบทบาทสำคัญไม่แพ้ ECP
ในรูปของการลงทุนใน CLN ที่ link
ผ่านกับพันธบัตรรัฐบาลของประเทศที่มีผลตอบแทนสูง
บทความโดย : suretax
ประกาศบทความโดย : http://www.prosmes.com
|