จากบทความเรื่องงบกระแสเงินสดที่เคยนำเสนอไปก่อนหน้าในหัวข้อ "ทำความรู้จักงบกระแสเงินสด" ได้มีการอธิบายภาพรวมและประโยชน์ของงบประเภทนี้ไปบ้างแล้ว ซึ่งนอกจากจะช่วยให้ผู้บริหารหรือผู้ประกอบการเห็นความเคลื่อนไหวของเงินสดในธุรกิจว่าได้รับและจ่ายออกไปกับเรื่องใดบ้างและมีเงินสดเหลืออยู่ในธุรกิจ ณ วันที่อ่านข้อมูลอยู่เท่าไหร่ ยังมีส่วนสำคัญในการช่วยประเมินความสามารถในการจ่ายเงินสดในการดำเนินธุรกิจด้วย
ในมุมมองและความเข้าใจของผู้ประกอบการหน้าใหม่ การทำธุรกิจอาจเริ่มต้นจากการนำเงินไปลงทุนเป็นค่าเครื่องจักรและค่าวัตถุดิบเพื่อทำสินค้าหรือบริการที่น่าสนใจออกมา ตั้งราคาให้พอเหมาะ ถ้าสินค้าดีและน่าสนใจจริงก็จะมีคนซื้อต่อเนื่อง เกิดเป็นกำไรได้ตามเป้าหมายก็ถือว่าประสบความสำเร็จในธุรกิจนั้นแล้ว แต่ในความเป็นจริงยังมีอีกหลากหลายมุมมองและรายละเอียดสำคัญที่มองข้ามไม่ได้ หนึ่งในนั้นคือเงินที่นำมาใช้จ่ายหมุนเวียนในการผลิตสินค้านั้นจะมาจากแหล่งใด และถูกใช้จ่ายไปกับอะไรบ้างในแต่ละช่วงเวลา
เพื่อให้การจัดทำรายงานทางการเงินของประเทศไทยสอดคล้องกับกลุ่มประเทศใน AEC และเพื่อให้รายงานทางการเงินของกิจการในประเทศไทยมีความเป็นสากล ตลอดจนเปรียบเทียบกันได้ อันจะเป็นการส่งเสริมให้กิจการในประเทศไทยมีศักยภาพในการแข่งขันมากยิ่งขึ้น คณะกรรมการกำหนดมาตรฐานการบัญชี สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงได้ตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาเกณฑ์ที่เหมาะสมในการจัดประเภทกิจการ เพื่อประกอบการพิจารณาการนำมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการขนาดกลาง และขนาดย่อม (IFRS for SMEs)
มีเงินนับว่าเป็นน้อง มีทองนับว่าเป็นพี่ คำกล่าวนี้หากเป็นในอดีตกาลที่ผ่านมา ถือเป็นเรื่องจริง ที่ถูกต้อง แต่สำหรับโลกธุรกิจการค้าทุกวันนี้ เงินที่เคยนับเป็นน้องได้ถูกสลับตำแหน่งเปลี่ยนที่ และยกย่องให้เป็นเจ้าผู้ครองโลก หรือ Cash is The King โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ออร์เดอร์หดหายยอดขายต่ำเช่นนี้ สิ่งที่ผู้ประกอบการทั้งหลายยึดปฏิบัติในแนวทางเดียวกัน ก็คือการถือเงินสด อยู่ในมือย่อมมีอำนาจเหนือสิ่งใด
การบัญชีมีคำนิยามต่างๆ กันตามความนิยม แต่ที่ใช้กันมาก ได้แก่คำนิยามของสมาคมผู้สอบบัญชีรับอนุญาตของประเทศ สหรัฐอเมริกา ซึ่งกล่าวไว้ว่า การบัญชีหมายความถึง การจดบันทึก การจำแนก การสรุปผลละการรายงานเหตุการณ์เกี่ยวกับการเงิน โดยใช้หน่วยเป็นเงินตรารวมทั้งการแปลความหมายของผลการปฏิบัติดังกล่าวด้วย
บางครั้งผู้บริหารหรือเจ้าของกิจการอาจจะเกิดข้อข้องใจในการวางระบบบัญชีและ การควบคุม ภายในว่าการวางระบบบัญชีจะก่อให้เกิดผลกระทบอย่างไรต่อกิจการ หรือก่อนที่จะทำการวางระบบบัญชีควรจะคำนึงถึงอะไรบ้าง เมื่อวางระบบแล้วควรจะได้อะไรบ้าง ต่อไปนี้เป็นบัญญัติ 10 ประการที่ ผู้วางระบบบัญชี ผู้บริหาร และเจ้าของกิจการ ควรจะต้องคำนึง และพิจารณาก่อนที่จะตัดสินใจ ทำการวางระบบบัญชีหรือจะทำการปรับปรุงใด ๆ
วงจรธุรกิจ คือ กระบวนการผลิตเงินสด โดยในขั้นแรกเงินสดจะแปรสภาพอยู่ในรูปของวัตถุดิบ จากนั้นเมื่อผ่านกระบวนการต่าง ๆ ก็จะเพิ่มมูลค่าให้สูงขึ้น แล้วแปรเปลี่ยนไปเป็นสินค้าและขายสินค้าที่ผลิตออกมาสำเร็จให้กับลูกค้า เปลี่ยนเป็นยอดขายค้างรับ จากนั้นเมื่อเก็บเงินได้ ก็จะถูกโอนไปยังบัญชีธนาคาร แล้วกลับมาเป็นเงินสดอีกครั้งหนึ่ง เป็นอันว่าครบหนึ่งวงจร
ท่านผู้อ่านที่เป็นนักบัญชีหลาย ๆ ท่าน คงได้ยินเรื่อง มาตรฐานการบัญชีสำหรับ SMEs มาบ้างแล้ว หลายท่านมีคำถามถึงเรื่องดังกล่าวว่า จะเกิดขึ้นจริงในบ้านเราใช่หรือไม่ ? และ จะมีผลบังคับใช้เมื่อใด?
นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร เป็นนิติบุคคลตาม พ.ร.บ. การจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 ตั้งขึ้นเพื่อรับโอนสาธารณูปโภค รวมทั้งให้บริการสาธารณะ เพื่อประโยชน์แก่สมาชิกที่ซื้อที่ดิน หรือบ้านจัดสรร จึงเป็นนิติบุคคลที่มิได้แสวงหากำไรและได้รับยกเว้นภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากร ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่มภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์สำหรับการโอนและการรับโอนทรัพย์สินที่เป็นสาธารณูปโภค และบริการสาธารณะ การให้บริการบำรุงรักษา และการจัดการสาธารณูปโภค
นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรนอกจากจะมีรายได้จากค่าบริการส่วนกลางที่จัดเก็บ สมาชิกในหมู่บ้านจัดสรรแล้ว หากนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรนั้นมีรายได้อื่น ๆ ที่มาจากบุคคลภายนอก รวมถึงรายได้ที่มาจากสมาชิกในหมู่บ้านจัดสรรเอง แต่เป็นรายได้อื่นซึ่งมิใช่รายได้จากค่าบริการส่วนกลางดังกล่าวแล้ว จะไม่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่มตามประกาศของ สรรพากร